ความเค็ม (Salinity) เป็นดัชนีวัดปริมาณความเข้มข้นของอิออน
(ion) ที่ละลายในน้ำ แสดงหน่วยเป็น หนึ่งส่วนในพันส่วน (ppt) ค่าความเค็มของน้ำทะเลจะขึ้นอยู่กับปริมาณอิออนที่สำคัญ 7 ชนิด
ได้แก่ โซเดียม (Sodium) โปแตสเซียม (Potassium) แคลเซียม (Calcium) แมกนีเซียม (Magnesium) คลอไรด์ (Chloride) ซัลเฟต (Sufate) และไบคาร์บอเนต (Bicarbonate) ในน้ำทะเลทั่วไปจะมีความเค็มประมาณ
34 ppt ส่วนในบริเวณปากแม่น้ำหรือน้ำกร่อยมีค่าอยู่ระหว่าง 2-30 ppt ขึ้นอยู่กับระยะทางจากปากแม่น้ำ
และปริมาณน้ำจืดที่ไหลลงมาในบริเวณนี้ ในการเลี้ยงกุ้งทะเลความมีความเค็มอยู่ระหว่าง
25-35 ppt สำหรับกุ้งกุลาดำความเค็มที่เหมาะสมอยู่ในช่วงระหว่าง 15-30 ppt ส่วนกุ้งขาวสามารถทำการเลี้ยงในช่วงความเค็ม 2-35 ppt แต่ระดับที่เหมาะสมคือ 20-25 ppt
แต่ในปัจจุบันเราพบว่าการเลี้ยงกุ้งที่ความเค็ม
3-10 ppt จะเลี้ยงกุ้งได้ง่ายเนื่องจากมีปัญหาเรื่องความเสียหายจากโรคกุ้งน้อยมากโดยเฉพาะปัญหาจากโรคแบคทีเรียเรืองแสงในบ่อกุ้งเป็นต้น
เกษตรกรหลายรายจึงได้หันมาเลี้ยงกุ้งทะเลในระบบความเค็มต่ำมากขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น