วันพฤหัสบดีที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2556

Ph Meter มิเตอร์วัดความเป็นกรดด่าง


     ความเป็นกรดด่าง (pH) เป็นดัชนีแสดงความเข้มข้นของไฮโดรเจนอิออน (H+) ในน้ำ ในทางปฏิบัติจะแสดงถึงความเป็นกรด่างของน้ำ ค่า pH น้ำที่มีคุณสมบัติเป็นกรดจะมีค่า pH ต่ำกว่า 7 น้ำที่มีคุณสมบัติเป็นกลางจะมีค่า pH เป็น 7 ในแหล่งน้ำกร่อยทั่วไปมีค่า pH อยู่ระหว่าง 7-8 แพลงก์ตอนพืชส่วนใหญ่เจริญได้ดีในน้ำที่มีค่า pH อยู่ระหว่าง 8-8.2 สำหรับกุ้งทะเลจะเจริญเติบโตได้ดีเมื่อค่า pH ของน้ำมีค่าอยู่ระหว่าง 6-9 กุ้งจะมีการเจริญเติบโตช้าถ้ามีค่า pH อยู่ระหว่าง 4-6 และ 9-11 และกุ้งจะไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ถ้าค่า pH มีค่าต่ำกว่า 4 และสูงกว่า 11 ค่า pH ของน้ำจะมีค่าเพิ่มขึ้นในเวลากลางวัน เนื่องจากการสังเคราะห์แสงของแพลงก์ตอนพืชในเวลากลางวัน จะทำให้ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในน้ำลดลง ส่งผลความเป็นด่างสูงขึ้น และในเวลากลางคืนค่า pH ของน้ำลดลง เนื่องจากกระบวนการหายใจของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในน้ำ จะคายคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา ทำให้น้ำมีความเป็นกรดมากขึ้น

น้ำที่ผ่านบริเวณที่ดินเป็นกรดหรือดินเปรี้ยวจะมีพีเอชต่ำ เนื่องจากความเป็นกรดที่ละลายออกมาจากเนื้อดินจะทำให้พีเอชของน้ำต่ำ โดยทั่วไปแล้วดินบริเวณป่าชายเลนมักจะเป็นดินเปริ้ยวซึ่งเกิดจากการสะสมของไพไรท์ซึ่งเป็นสารประกอบระหว่างเหล็กและกำมะถันในชั้นดินในสภาพที่ขาดออกซิเจน ลักษณะดิน ส่วนมากมักจะมีการสะสมของสารอินทรีย์จากพืชต่างๆสูง ดินพวกนี้เมื่อขุดขึ้นมาสัมผัสอากาศ ไพไรท์จะถูกออกซิไดซ์เป็นกรดกำมะถัน (กรดซัลฟูริค) พีเอชของดินจะต่ำ ในบริเวณที่ดินเป็นกรดเหล่านี้เมื่อสูบน้ำเข้าไปในบ่อจะเห็นได้ชัดเจนว่าน้ำมีสีส้มและมีตะกอนสนิมเหล็กเป็นจำนวนมากการแก้ปัญหา เหล่านี้ทำได้โดยใช้น้ำล้างบ่อหลายๆครั้งเมื่อล้างจนเพียงพอแล้วเติมน้ำเข้าบ่อให้ระดับน้ำในบ่อสูงกว่าหรือเสมอกับบ่อข้างเคียงแล้วเติมวัสดุปูน หากน้ำในบ่อมีพีเอชที่ต่ำมากแพลงก์ตอนในบ่อจะเกิดขึ้นมากเกษตรกรต้องปรับพีเอชน้ำให้ได้ค่าตอนเช้าประมาณ 6.00 น. สูงประมาณ 7.5 จะช่วยให้แพลงก์ตอนพืชเพิ่มจำนวน ได้เร็วขึ้นระหว่างการเลี้ยงต้องตรวจเช็คค่าพีเอชน้ำอยู่เสมอเมื่อพบว่าพีเอชน้ำเริ่มต่ำกว่า 7.5 ให้รีบเติมวัสดุปูนเพื่อดึงค่าพีเอชขึ้นมา

การเปลี่ยนแปลงพีเอชของน้ำในรอบวันมากเกินไปจะมีผลทำให้กุ้งเครียดมีผลต่อการเจริญเติบโตด้วย การแก้ปัญหาโดยการลดปริมาณแพลงก์ตอนหรือถ่ายน้ำมากขึ้นเพื่อลดความเข้มของสีน้ำ หรือในกรณีที่ค่าอัลคาไลน์ในน้ำต่ำ จำเป็นต้องมีการเติมวัสดุปูน เพื่อเพิ่มระดับอัลคาไลด์ จะทำให้พีเอชของน้ำตอนเช้าและตอนบ่ายเปลี่ยนแปลงน้อยลง ส่วนในกรณีที่พีเอชในน้ำตอนบ่ายสูงมาก เนื่องจากมีการใช้คาร์บอนไดออกไซด์ไปในการสังเคราะห์แสงมาก การเปิดเครื่องให้อากาศแบบเคล้าน้ำแทนการใช้ใบพัดตีน้ำจะทำให้การเพิ่มจำนวนของแพลงก์ตอนไม่มากนัก ซึ่งมีผลให้พีเอชของน้ำไม่สูงจนเกินไป

       การใช้เครื่องมือวัดจะช่วยให้รวดเร็วประหยัด เวลา เงิน 

                                                                      

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น