วันพฤหัสบดีที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2556

ความโปร่งแสงของน้ำ




   ความโปร่งแสงของน้ำ (Transparency) เป็นค่าแสดงความสามารถให้แสงส่งผ่านลงสู่ผิวน้ำ บางครั้งเรียกว่าความขุ่น (Turbidity) แสงมีความสำคัญมากต่อกระบวนการสังเคราะห์แสง (Photosynthesis) ของแพลงก์ตอนพืชในน้ำเพื่อผลิตสารอินทรีย์ และในกระบวนการสังเคราะห์แสง จะให้ออกซิเจนออกมาเป็นผลพลอยได้ ซึ่งออกซิเจนละลายในน้ำที่เกิดขึ้นจะมีผลต่อการดำรงชีวิตของกุ้ง โดยคลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) ชนิดบี จะพบในแพลงก์ตอนพืชสีเขียว และคลอโรฟิวล์ชนิดซี จะพบในแพลงก์ตอนพืชสีน้ำตาล โดยคลอโรฟิลล์เอจะมีบทบาทมากที่สุดในกระบวนการสังเคราะห์แสง

แหล่งน้ำที่มีค่าความโปร่งแสงอยู่ระหว่าง 30-60 เซนติเมตร มีความเหมาะสมสำหรับการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำ


  

การวัดความโปร่งใส Transparency

ความโปร่งใสเป็นการวัดระยะความลึกที่แสงสามารถส่องผ่านลงไปในน้ำได้ ความโปร่งใสของน้ำจะผันแปรตามสีและความขุ่นของน้ำ แต่บางครั้งความโปร่งใสอาจผันแปรตามความเข้มของแสง และทิศทางของแสง ความโปร่งใสเป็นพารามิเตอร์ที่วัดได้รวดเร็วและง่ายด้วยเครื่องมือที่เรียกว่าSecchi disc ซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นกลมมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 20-30 เซนติเมตร ทำด้วยโลหะ ไม้ หรือพลาสติกก็ได้ Secchi disc นี้แบ่งออกเป็น 4 ส่วนเท่าๆ กัน แต่ละส่วนจะทาสีขาวและดำสลับกัน ตรงจุดศูนย์กลางจะมีห่วงไว้ผูกเชือก ด้านตรงข้ามอาจมีวัตถุติดถ่วงเอาไว้เพื่อให้ Secchi disc มีน้ำหนักมากขึ้น
วิธีการวัดความโปร่งใสทำได้โดยหย่อน Secchi disc ลงไปในน้ำอย่างช้าๆ จนกระทั่งมองไม่เห็น Secchi disc บันทึกความยาวของเชือกที่หย่อนลงไป จากนั้นหย่อน Secchi disc ลงไปอีกเล็กน้อยแล้วดึง Secchi disc ขึ้น บันทึกความยาวเชือกที่มองเห็น Secchi disc อีกครั้ง ค่าเฉลี่ยจากความยาวเชือกที่อ่านได้ทั้งสองครั้งเป็นค่าความโปร่งใส เมื่อคูณค่าความโปร่งใสที่ได้ด้วย 2 ก็จะประมาณค่าของ compensation depth ได้ ณ ระยะความลึกนี้พบว่า ออกซิเจนที่ได้จากการสังเคราะห์แสงจะเท่ากับออกซิเจนที่ใช้ไปโดยแพลงก์ตอนพืชและจุลชีพอื่นๆ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ค่าความโปร่งใสควรอยู่ระหว่าง 30-45 เซนติเมตร ถ้าค่าความโปร่งใสนั้นเกิดจากแพลงก์ตอนพืช

                                                                   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น