แอมโมเนีย (Ammonia)
ส่วนใหญ่เกิดจากกระบวนการเมตาบอลิซึมของสิ่งมีชีวิตในน้ำ
และกระบวนการย่อยสลาย (Decomposition) สารอินทรีย์ของจุลินทรีย์ในน้ำ
แอมโมเนียที่พบในน้ำมี 2 รูป คือ อัลอิอนแอมโมเนีย (Un-ionized ammonia, NH3) และแอมโมเนียอิออน (Ammonium ion, NH4+)ความเป็นพิษของแอมโมเนียที่มีต่อสัตว์น้ำ
ส่วนใหญ่เกิดจากสัตว์น้ำไม่สามารถขับแอมโมเนียที่สะสมภายในร่างกายออกสู่ภายนอกได้
นอกจากนี้แอมโมเนียยังสามารถทำลายเหงือกสัตว์น้ำได้อีกด้วย
ส่งผลให้ประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนออกซิเจนเข้าสู่ภายในร่างกายลดลง
โดยปกติแล้วแอมโมเนียอิออน (NH4+ ไม่เป็นพิษต่อกุ้ง
เพราะไม่สามารถซึมผ่านผนังเซลล์ได้ การเกิดแอมโมเนียทั้ง 2 รูปแบบ
ขึ้นอยู่กับความสมดุลของอุณหภูมิกับ pH โดย pH จะเป็นปัจจัยสำคัญกว่าอุณหภูมิ ความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ของน้ำสูงขึ้น อัลอิออนแอมโมเนียจะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น
ในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำปริมาณแอมโมเนียรวม (Total ammonia)
ไม่ควรเกิน 1 มิลลิลกรัมไนโตรเจนต่อลิตร
เมื่อแอมโมเนียในน้ำมีปริมาณสูงขึ้น
จะมีผลให้การขับถ่ายแอมโมเนียของกุ้งทำได้น้อยลงทำให้เกิดการสะสมของแอมโมเนียในเลือดและเนื้อเยื่อ
ส่งผลให้พีเอชของเลือดเพิ่มขึ้นและมีผลต่อการทำงานของเอ็นไซม์
แอมโมเนียจะทำให้การใช้ออกซิเจนของเนื้อเยื่อสูงขึ้น
แอมโมเนียจะไปทำลายเหงือกและความสามารถในการขนส่งออกซิเจน
และทำให้กุ้งอ่อนแอติดโรคได้ง่าย ระดับความเข้มข้นของแอมโมเนียที่ทำให้สัตว์น้ำตายโดยปกติอยู่ในช่วง
0.4-2.0 มิลลิกรัมต่อลิตร ในรูปของ NH3 ในการทดลองแบบพิษเฉียบพลันระหว่าง
24-72 ชั่วโมง แต่สำหรับกุ้งมีรายงานว่า แอมโมเนียที่ความเข้มข้น 1.29 มิลลิกรัมต่อลิตร ในรูป NH3 จะทำให้กุ้งตายได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ในระยะเวลา 48 ชั่วโมง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น