สรุปข้อมูลการศึกษาการใช้ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ในระบบฟาร์มเลี้ยงกุ้ง
คุณสมบัติของจุลินทรีย์ที่มีความสำคัญต่อการเลี้ยงกุ้ง
1. คุณสมบัติทางชีวภาพ
การผลิตกุ้งในปี 53 เกิดปัญหาโรคขี้ขาว กุ้งโตช้า
กรอบแกรบ แตกไซส์ อีกทั้งแบคทีเรีย Vibrio sp. เริ่มมีการพัฒนาความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น
โดยพบว่าปริมาณ Vibrio sp. 103 cfu/ml ขึ้นไป สามารถทำให้กุ้งตายได้
ซึ่งในตะกอนเลนส่วนใหญ่จะพบ Vibrio sp. ประมาณ 105cfu/ml นอกจากนี้ยังพบไวรัสตัวแดงดวงขาวอีกด้วย
ทำให้ปีนี้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งเลี้ยงกุ้งยากขึ้นและต้นทุนสูง
ดังนั้นในผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์จึงจำเป็นต้องมีการคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีคุณสมบัติในการยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคเหล่านี้
เช่น lactic acid bacteria (LAB) หรือ acetic acid
bacteria (AAB)
2. คุณสมบัติทางเคมี
ของเสียที่กุ้งขับถ่ายออกมาและอาหารที่เหลือจากการกินของกุ้ง
มีองค์ประกอบหลักเป็นโปรตีน และคาร์โบไฮเดรต
การย่อยสลายสารอินทรีย์จะปลดปล่อยสารประกอบที่เป็นพิษบางชนิด เช่น แอมโมเนีย
ไนไตรท์ และไฮโดรเจนซัลไฟด์
2.1 แอมโมเนีย (Ammonia)
ความเป็นพิษของแอมโมเนียที่มีต่อสัตว์น้ำ
ส่วนใหญ่เกิดจากสัตว์น้ำไม่สามารถขับแอมโมเนียที่สะสมภายในร่างกายออกสู่ภายนอกได้
นอกจากนี้แอมโมเนียยังสามารถทำลายเหงือกสัตว์น้ำได้อีกด้วย
ส่งผลให้ประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนออกซิเจนเข้าสู่ภายในร่างกายลดลง
2.2 ไนไตรท์ (Nitrite)
ไนไตรท์มีคุณสมบัติในการจับกับเม็ดเลือดได้เร็วกว่าออกซิเจน
จึงทำให้การขนถ่ายออกซิเจนในเลือดลดลง ไนไตรท์เป็นอันตรายต่อเหงือก
ทำให้กุ้งเกิดความระคายเคืองบริเวณซี่เหงือก
เป็นสาเหตุทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
2.3 ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (Hydrogen sulfide)
ความเป็นพิษของไฮโดรเจนซัลไฟด์
จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับการขาดออกซิเจน เนื่องจากไปขัดขวางออกซิเจนภายในเซลล์
จุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการกำจัดแอมโมเนียและไนไตรท์ ได้แก่ Nitrosomonas sp., Nitrobator sp., Bacillus sp. และ anammox
bacteria จุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการกำจัดไฮโดรเจนซัลไฟด์
ได้แก่ Thiobacillus sp. และ Pseudomonas sp.
3. คุณสมบัติทางกายภาพ
สีน้ำในบ่อกุ้งส่วนใหญ่คือสีของแพลงก์ตอนที่กระจายอยู่ในน้ำ
ประโยชน์ของสีน้ำ คือช่วยลดความโปร่งของใสของน้ำในบ่อ ทำให้แสงส่งไปไม่ถึงพื้นบ่อ
เนื่องจากกุ้งขาวเป็นกุ้งที่ว่ายน้ำอยู่ตลอดเวลาที่บริเวณระดับความลึกกลางน้ำ
น้ำในบ่อเลี้ยงกุ้งขาว ควรมีความโปร่งแสง อยู่ระหว่าง 30-40 เซนติเมตร
ความเข้มของสีน้ำระดับนี้สามารถช่วยป้องกันการตกใจของกุ้งได้และช่วยลดความเครียดของกุ้งได้
เพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำ
บ่อที่มีแพลงก์ตอนพืชมากหรือสีน้ำเข้มในช่วงเวลากลางวันที่มีแสงแดดแพลงก์ตอนจะมีการสังเคราะห์แสงและผลิตออกซิเจนออกมา
ในกรณีที่แพลงก์ตอนมาก สีน้ำเข้ม
เมื่อแพลงก์ตอนเหล่านั้นตายอย่างรวดเร็วหรือที่เรียกกันว่า แพลงก์ตอนดรอป
จะเกิดแอมโมเนียมาก และออกซิเจนจะลดลงมากด้วย
การตายของแพลงก์ตอนบางชนิดจะมีฟองหรือคราบของแพลงก์ตอนที่ตายปกคลุมบริเวณผิวน้ำเป็นบริเวณกว้าง
ทำให้เกิดปัญหาแพลงก์ตอนเข้าเกาะเหงือกกุ้งอ่อนแอไม่กินอาหารและตายในที่สุด
การเติมจุลินทรีย์จะช่วยในเรื่องความสมดุลย์ของแพลงก์ตอนในบ่อ
โดยการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเจริญของแพลงก์ตอนบางกลุ่มและช่วยย่อยสลายสารอินทรีย์ที่เกิดจากการตายของแพลงก์ตอน
เครื่องให้อาหารอัตโนมัติกับการใช้ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์
ปัจจุบันเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งเริ่มมีการใช้เครื่องให้อาหารอัตโนมัติ
ซึ่งในการให้อาหารโดยใช้เครื่องให้อาหารอัตโนมัติทำให้เกิดข้อจำกัดของการใช้จุลินทรีย์ชนิดผงในการเลี้ยงกุ้ง
ซึ่งปกติการใช้จุลินทรีย์จะผสมน้ำเล็กน้อยเพื่อคลุกกับอาหาร (top dressing) แต่วิธีอาจใช้ไม่ได้กับเครื่องให้อาหารอัตโนมัติเพราะความชื้นจะทำให้อาหารติดอยู่ในเครื่อง
ในอนาคตหากมีการใช้เครื่องให้อาหารอัตโนมัติเพิ่มขึ้น
อาจทำให้เกิดข้อจำกัดในการใช้ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์เพิ่มขึ้น
ซึ่งดูเหมือนว่าการผสมจุลินทรีย์ลงในอาหารอัดเม็ดอาจมีความจำเป็นในอนาคตก็เป็นได้
ปัจจัยที่ควรคำนึงในการผสมจุลินทรียลงในอาหารอัดเม็ด
• ปริมาณ
• การอยู่รอด
• การแตกตัว
• การอยู่รอด
• การแตกตัว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น